มีบัตรเครดิตได้กี่ใบ? วิธีจัดการบัตรเครดิตหลายใบแบบมือโปร

ในยุคนี้บัตรเครดิตกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินที่หลายคนใช้ช่วยบริหารรายจ่ายและเพิ่มความสะดวกสบายในการช้อปปิง แต่คำถามยอดฮิตที่หลายคนสงสัยคือ มีบัตรเครดิตได้กี่ใบ ถึงจะเหมาะสมและไม่เกิดปัญหา? บางคนอาจสงสัยว่า "มีบัตรเครดิตหลายใบดีไหม" หรือ "ควรมีบัตรเครดิตกี่ใบถึงจะเหมาะกับตัวเอง"
บทความนี้จะช่วยพี่ ๆ มนุษย์เข้าใจเรื่องบัตรเครดิตมากขึ้น พร้อมแนะนำวิธีจัดการบัตรเครดิตหลายใบอย่างมืออาชีพ เพื่อให้การใช้บัตรเครดิตเป็นประโยชน์และไม่สร้างความเครียดทางการเงิน
ทำความเข้าใจการใช้บัตรเครดิต
บัตรเครดิต ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้ แล้วค่อยชำระทีหลัง หรือก็คือรูดไปก่อน ได้ของมา แล้วรวบยอดไปจ่ายเมื่อครบกำหนดในแต่ละเดือนนั่นเอง โดยที่บัตรจะมีวงเงินสูงสุดที่ธนาคารกำหนดตามรายได้และประวัติการเงินของเรา
การใช้บัตรเครดิตเลยเป็นช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการจ่ายเงิน ทำให้เราไม่ต้องพกเงินสด และยังได้รับสิทธิประโยชน์จากบัตร เช่น คะแนนสะสม โปรโมชันผ่อนชำระ 0% หรือส่วนลดร้านอาหารที่ร่วมกับธนาคาร
คนหนึ่งคน มีบัตรเครดิตได้กี่ใบ?
จริง ๆ แล้ว คนคนนึงจะมีบัตรเครดิตได้กี่ใบก็ได้ เพราะไม่มีข้อหนดทางกฎหมายที่จะมาจำกัดจำนวนบัตรเครดิตของแต่ละคนเลย แต่โดยทั่วไปแล้ว ธนาคารจะอนุมัติให้ไม่เกิน 5-7 ใบต่อคนเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน และคนส่วนใหญ่ก็จะยึดหลักที่ว่า ไม่ควรมีบัตรเครดิตเกิน 3 ใบ เพื่อจะได้บริหารได้โดยไม่สร้างหนี้ และยังเอ็นจอยสิทธิประโยชน์ที่มากับบัตรได้แบบคุ้ม ๆ

เราควรมีบัตรเครดิตกี่ใบ ตัดสินใจยังไง?
เหมียวคิดว่า จำนวนบัตรเครดิต ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และความสามารถในการจัดการของแต่ละคน โดยไม่ว่าจะ 1 ใบ หรือ 3 ใบ พี่ ๆ ควรพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้
- เลือกบัตรเครดิตที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์
ถ้าจะเปิดบัตรใหม่ เหมียวอยากแนะนำให้เลือกอันที่เราจะได้ใช้ประโยชน์กับมันจริง ๆ เพราะบัตรแต่ละประเภทจะมาพร้อมกับสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น บัตรเดินทางสิทธิประโยชน์เป็นประกันการเดินทาง หรือ บัตรช้อปปิ้งมีส่วนลดให้เมื่อช้อปของจากร้านในเครือ - ระวังค่าธรรมเนียมรายปีและค่าใช้จ่ายแอบแฝง
บางบัตรอาจมีค่าธรรมเนียมรายปีที่สูง เหมียวขอแนะนำให้ควรตรวจสอบตรงนี้ให้แน่ใจก่นเปิดบัตร ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้สอดคล้องกับประโยชน์ที่จะได้รับมั้ย - สำรวจตัวเองว่า ใช้เงินยังไง มีเงินเหลือใช้ในแต่ละเดือนเท่าไหร่
ก่อนจะคิดถึงการมีบัตรเพิ่ม พี่สำรวจว่า นิสัยการใช้เงินของเราเป็นแบบไหนกันแน่ โดยเราสามารถทำได้จากการจดรายรับรายจ่าย เพื่อดูว่า ใน 1 เดือนเรามีเงินเหลือเท่าไหร่หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ปกติจ่ายให้กับเรื่องไหนมากที่สุด และถ้ามีบัตรเครดิตมาเพิ่มอีกใบ จะมีเงินพอจ่ายตอนรวมยอดปลายเดือนมั้ย
เพราะถ้าเราเป็นสายรูดแล้วลืมจ่าย หรือใช้ไปเรื่อยโดยไม่จดบันทึกเลย การมีบัตรเครดิตหลายใบก็อาจกลายเป็นภาระเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
แต่เหมียวรู้ว่า พี่ ๆ หลายคนคงเคยลองจดรายจ่ายดูแล้ว แต่รู้สึกว่าเหนื่อยเหลือเกิน แถมยังไม่ค่อยมีเวลามานั่งจดเอง เหมียวอยากแนะนำ แอปเหมียวจด ที่ช่วยบันทึกรายจ่ายแบบอัตโนมัติผ่านสลิปธนาคาร
- ไม่ว่าจะจ่ายจากบัญชีไหนก็จดให้หมด
- จ่ายเงินสดหรือรูดบัตรก็แค่เปิดแอปแล้วเพิ่มรายการเองได้ง่าย ๆ
- จัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายได้ เช่น อาหาร เดินทาง หรือของใช้จำเป็น รวมถึงสร้างแท็ก# เช่น #กล่องสุ่ม #ปาร์ตี้ หรือ #ของเล่นแมว เพื่อติดตามเฉพาะเรื่องได้ด้วย
- มีกราฟเทียบรายสัปดาห์-รายเดือน รีวิวการใช้จ่ายแบบชัด ๆ
เหมียวจดจะช่วยให้พี่ ๆ รู้จักนิสัยการใช้เงินของตัวเองมากขึ้น ตามได้ว่าใช้เงินไปกับอะไร ช่วงไหนรูดเยอะเป็นพิเศษ ซึ่งตรงนี้แหละ จะช่วยให้พี่ประเมินความสามารถในการจัดการเงินของตัวเองได้แม่น ๆ และตัดสินใจเรื่องบัตรเครดิตได้อย่างมีข้อมูล
ส่องฟีเจอร์เหมียวจดมีบัตรเครดิตหลายใบ มีข้อดี-ข้อเสียยังไง?
การมีบัตรเครดิตหลายใบมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่พี่ควรรู้ เพื่อให้สามารถใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย
ข้อดีของการมีบัตรหลายใบ
- สิทธิประโยชน์หลากหลาย
บัตรเครดิตแต่ละใบมักมีโปรโมชันและสิทธิพิเศษแตกต่างกัน เช่น คะแนนสะสมที่สามารถแลกของรางวัลหรือส่วนลด, เงินคืน (Cash Back) จากการใช้จ่ายในหมวดหมู่ต่าง ๆ - เพิ่มโอกาสใช้ประโยชน์จากโปรโมชัน
พี่สามารถเลือกใช้บัตรให้ตรงกับโปรโมชัน เช่น ใช้บัตรใบหนึ่งสำหรับช้อปปิงออนไลน์ และอีกใบสำหรับการเดินทาง เพื่อรับสิทธิ์สูงสุด - กระจายความเสี่ยงทางการเงิน
หากบัตรใดบัตรหนึ่งเกิดปัญหาหรือถูกปิด พี่ยังมีบัตรอื่นให้ใช้งานได้

ข้อเสียที่ต้องระวัง
- การจ่ายขั้นต่ำที่หลายคนยังไม่เข้าใจ
การจ่ายเพียงขั้นต่ำอาจทำให้ดอกเบี้ยสะสมสูงขึ้นมากและยืดระยะเวลาการผ่อนชำระออกไป ส่งผลให้หนี้บานปลายโดยไม่รู้ตัว - ความเสี่ยงจากการจัดการหลายบัญชี
มีบัตรหลายใบทำให้ติดตามยอดใช้จ่ายและวันครบกำหนดชำระได้ยากขึ้น อาจเกิดความผิดพลาดล่าช้าจนเสียค่าปรับหรือดอกเบี้ยเพิ่ม - เพิ่มช่องทางให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูล
การมีข้อมูลบัตรเครดิตหลายใบ หมายถึงข้อมูลส่วนตัวและทางการเงินถูกกระจายมากขึ้น ซึ่งเพิ่มโอกาสถูกโจรกรรมข้อมูลหรือถูกหลอกลวง
การมีบัตรเครดิตหลายใบไม่ใช่เรื่องแย่อะไร แต่พี่ควรบริหารจัดการอย่างระมัดระวัง เพื่อใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษโดยไม่ตกเป็นเหยื่อของภาระหนี้และความเสี่ยงทางการเงิน

มีบัตรเครดิตหลายใบ จัดการยังไงให้ไม่เป็นหนี้
การมีบัตรเครดิตหลายใบอาจดูยุ่งยากและเสี่ยงถ้าไม่ได้บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ แต่ถ้าพี่จัดการอย่างมืออาชีพ จะช่วยลดความเครียดและควบคุมการเงินได้ดีขึ้น ดังนี้
- ทวนบิลบัตรเครดิตทุกเดือน และจ่ายเต็มจำนวน
พี่ ๆ ที่มีบัตรเครดิตสามารถเช็กยอดการใช้บัตรผ่านแอปธนาคารได้ง่าย ๆ และสามารถเปิดแจ้งเตือนเพื่อให้ไม่ลืมจ่ายบิลทุกเดือน โดยหากเป็นไปได้ เราควรเลือกจ่ายเต็มจำนวน และหลีกเลี่ยงการจ่ายขึ้นต่ำ เพื่อไม่ให้เกิดหนี้และดอกสะสมในระยะยาว - ใช้บัตรเครดิตแต่ละใบกับหมวดค่าใช้จ่ายเฉพาะเจาะจง
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับสิทธิประโยชน์และควบคุมการใช้จ่าย พี่ ๆ สามารถกำหนดบัตรแต่ละใบให้เหมาะกับค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทได้ เช่น บัตรใบที่ 1 สำหรับค่าเดินทาง และใบที่ 2 สำหรับซื้อของใช้เข้าบ้าน เป็นต้น - ควบคุมอัตราการใช้บัตรเครดิตไม่ให้เกิน 30% ของวงเงิน
ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินจะแนะนำว่า เราไม่ควรจ่ายบัตรเกิน 30% ของวงเงินเพื่อป้องกันภาระหนี้เกินตัว โดยพี่ ๆ สามารถคำนวณอัตราส่วนการใช้บัตร (Credit Utilizaltion Ratio) ได้ตามสูตรนี้:
(ยอดการใช้บัตรทุกใบ ÷ วงเงินบัตรเครดิตทุกใบ) × 100
เช่น หากมีบัตรเครดิต 2 ใบ มีวงเงินใบแรกที่ 20,000 บาท, ใบที่2 ที่ 30,000บาท และทั้งยอดการใช้บัตรทั้ง 2 ใบรวมกันอยู่ที่ 10,000 บาท อัตราการใช้บัตรจะเท่ากับ (10,000 ÷ (20,000+30,000)) × 100 = 20% ซึ่งถือว่าไม่เสี่ยงที่จะเป็นหนี้และไม่ก่อให้เกิดความเครียดทางการเงิน
การจัดการบัตรเครดิตหลายใบด้วยวิธีนี้จะช่วยให้พี่ควบคุมการเงินได้ดียิ่งขึ้น ใช้ประโยชน์จากสิทธิ์อย่างคุ้มค่า และลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหรือหนี้ทับถมโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือช่วยอย่าง "เหมียวจด" ที่จะทำให้ภาพรวมการเงินของพี่ชัดเจนและง่ายต่อการบริหารจัดการมากขึ้น
เริ่มใช้เหมียวจดเรื่องราวที่เหมียวแนะนำ

แจกทริคออมเงิน อยากมีเงินล้านก้อนแรก ต้องเริ่มเก็บยังไง?
อยากมีเงินล้านไม่ใช่เป้าหมายที่เกินตัว ถ้ารู้ทริคเก็บเงินล้านแรก พร้อมกับวางแผนการเงินดี ๆ ก็สามารถเข้าถึงเป้าหมายได้ไม่ยาก

เปิดสูตรฮาวทู วิธีปลดหนี้บัตรเครดิตให้เป็น 0!
วิธีปลดหนี้บัตรเครดิต เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้หลายคนหลุดออกจากวงจรหนี้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดได้อย่างยั่งยืน เรียนรู้เทคนิคการจัดการหนี้บัตรเครดิตที่ทำได้จริง

Shopaholic คืออะไร? ส่องสัญญาณเตือนว่าคุณกําลังเป็นหรือไม่
Shopaholic หรือ โรคเสพติดการซื้อ คือ ปัญหาการใช้เงินที่มีสาเหตุลึกลงไปถึงจิตใจที่ทำให้ใครหลายคนเป็นหนี้เป็นสินมาแล้ว มาดูกันเช็กกันว่า ภาวะนี้มีอาการยังไง