เครียดเรื่องเงิน ทำยังไงดี? 9 วิธีรับมือที่คุณทำได้ทันที

เครียดไม่มีเงินใช้ ทำไงดี? — คำถามนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยสำหรับพี่มนุษย์ในยุคนี้ที่ต้องเจอกับค่าครองชีพสูง รายได้ไม่แน่นอน และภาระหนี้สารพัด แต่ข่าวดีคือ… การจัดการเงินไม่ใช่เรื่องยากเกินไป และพี่สามารถเริ่มต้นได้ทันทีด้วยตัวเอง เหมียวจะพาไปดูวิธีที่เข้าใจง่าย ทำได้จริง และช่วยให้พี่ค่อย ๆ คลายความเครียดลงได้
สาเหตุของความเครียดทางการเงินของคนไทยคืออะไร
พี่มนุษย์เคยรู้สึกไหมว่า…ทำงานแทบตาย แต่เงินก็ไม่เคยพอ? ความรู้สึกแบบนี้ไม่ได้เกิดกับพี่คนเดียว เพราะจากข้อมูลและการสังเกตของเหมียว พบว่าคนไทยจำนวนมากต้องเผชิญกับ "ความเครียดเรื่องเงิน" จากหลากหลายปัจจัยที่ซับซ้อน โดยเฉพาะ 3 สาเหตุหลักที่มักเกิดขึ้นบ่อยที่สุด:
1. ขาดการวางแผนทางการเงิน
หลายคนไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเงิน เช่น การทำงบประมาณรายรับ-รายจ่าย หรือการจัดลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่าย ทำให้เงินที่หามาไหลออกโดยไม่รู้ตัว แถมยังไม่มีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินอีกต่างหาก
2. รายได้ไม่แน่นอน
กลุ่มอาชีพอิสระอย่างฟรีแลนซ์ พ่อค้าแม่ค้า หรือแรงงานรับจ้างทั่วไป มักมีรายได้ที่ขึ้นอยู่กับงานในแต่ละวัน ทำให้การวางแผนการเงินในระยะยาวกลายเป็นเรื่องยาก บางเดือนได้มาก บางเดือนไม่พอใช้ ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม
3. ปัญหาหนี้สิน
พี่มนุษย์หลายคนมีหนี้จากหลายทาง ทั้งหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล หรือแม้แต่หนี้นอกระบบ ซึ่งนอกจากจะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตและการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย
ทั้งหมดนี้คือภาพรวมของปัจจัยที่ทำให้ "ความเครียดเรื่องเงิน" กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับพี่มนุษย์ในยุคนี้ แต่ข่าวดีก็คือ พี่สามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ทันที จากการเข้าใจสาเหตุเหล่านี้ให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อย ๆ วางแผนรับมือไปพร้อมกับเหมียวในหัวข้อต่อ ๆ ไป

เครียดไม่มีเงินทําไงดี ต้องเริ่มแก้จากตรงไหน
คำถามยอดฮิตของพี่มนุษย์ยุคนี้: "เครียดไม่มีเงินทําไงดี" คำตอบคือ — เริ่มจากการเข้าใจพฤติกรรมทางการเงินของตัวเองก่อน แล้วค่อย ๆ ลงมือแก้ไขไปทีละจุด อย่าพึ่งท้อ เพราะแม้พี่จะอยู่ในจุดที่รายได้น้อย หรือมีหนี้หลายก้อน ก็ยังสามารถวางแผนจัดการได้ด้วยวิธีต่อไปนี้:
1. รู้จักตัวเองก่อนด้วยการบันทึกรายรับ รายจ่าย และหนี้ทั้งหมด
เริ่มจากการ "เห็นภาพรวม" ของการเงินตัวเองชัด ๆ ว่ามีรายรับเท่าไหร่ รายจ่ายอะไรบ้าง และมีหนี้อยู่กี่ก้อน แนะนำให้ใช้แอปจดบันทึกเช่น "เหมียวจด" ที่ช่วยแบ่งหมวดหมู่ชัดเจน ใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก
2. แยก "รายจ่ายจำเป็น" กับ "รายจ่ายฟุ่มเฟือย" ออกจากกันให้ได้
พี่อาจจะไม่รู้ตัวว่าเงินหายไปกับค่าอาหารแพง ๆ กาแฟแก้วละร้อย หรือของที่ซื้อเพราะ "อยากได้" ไม่ใช่ "ต้องใช้" การรู้เท่าทันสิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้พี่จัดลำดับความสำคัญของเงินได้ดีขึ้น
3. วางแผนจัดการหนี้ด้วยกลยุทธ์ที่เหมาะกับตัวเอง
ลองใช้วิธี Snowball (เริ่มจ่ายหนี้ก้อนเล็กก่อน) เพื่อสร้างกำลังใจจากความสำเร็จเล็ก ๆ หรือ Avalanche (จ่ายหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน) เพื่อลดดอกเบี้ยรวมในระยะยาว เลือกให้เหมาะกับนิสัยการเงินของพี่ได้เลย
4. ใช้ทฤษฎี Latte Factor ลดค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ
อย่ามองข้ามรายจ่ายจุกจิก เช่น กาแฟ แก้วละ 70 บาททุกวัน รวม ๆ เดือนนึงก็เป็นพัน! ถ้าพี่หักค่าใช้จ่ายนี้มาเก็บออมหรือใช้หนี้แทน จะช่วยให้การเงินพี่ดีขึ้นเร็วขึ้น
5. หางานเสริมที่เหมาะกับเวลาว่าง
ไม่ว่าจะเป็นพาร์ทไทม์, รับงานฟรีแลนซ์, ขายของออนไลน์, หรือแม้แต่ทำอาหารส่งเดลิเวอรี่ แค่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ รายได้เสริมก็สามารถกลายเป็นเงินก้อนสำคัญได้
6. ลองใช้ระบบซอง หรือแอปแยกหมวดรายจ่าย
เพื่อควบคุมงบในแต่ละหมวด เช่น ค่าอาหาร ค่าขนม ค่าน้ำมัน ฯลฯ จะได้ไม่ใช้เงินเกินตัว ลองใช้ "เหมียวจด" หรือระบบซองแบบญี่ปุ่นก็ช่วยได้เยอะ
7. อย่าลืมตั้งเป้าหมายการเงินเล็ก ๆ ไว้ให้ตัวเอง
เช่น เก็บเงินฉุกเฉินให้ได้ 3,000 บาทใน 3 เดือน หรือโปะหนี้ก้อนแรกให้หมดใน 6 เดือน เป้าหมายจะช่วยให้พี่มีแรงฮึด และวัดผลความคืบหน้าได้ชัดเจน

8. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถ้ารู้สึกจัดการไม่ไหว
ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคาร หรือหน่วยงานให้คำปรึกษาหนี้บางแห่ง ก็มีบริการให้คำแนะนำฟรี หรือเงื่อนไขผ่อนปรน อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือ
9. ให้เวลากับตัวเองและใจเย็นกับกระบวนการ
การจัดการเรื่องเงินเป็น "การวิ่งมาราธอน" ไม่ใช่ "วิ่ง 100 เมตร" พี่ไม่จำเป็นต้องแก้ทุกอย่างให้จบในวันเดียว แค่เริ่มต้นวันนี้ ก็คือก้าวสำคัญแล้ว
จะเครียดไม่มีเงินแค่ไหน ก็เริ่มจัดการได้ด้วย 9 ข้อนี้ พี่มนุษย์ไม่ต้องทำให้เพอร์เฟกต์ ขอแค่ลงมือทำทีละนิด เหมียวอยู่ตรงนี้เสมอ เป็นกำลังใจให้นะ

รู้เท่าทันป้องกันการเกิดความเครียดทางการเงิน
ก่อนที่ความเครียดจะถามหา พี่มนุษย์สามารถ "รู้เท่าทันการเงินตัวเอง" ได้ด้วยการสังเกต สร้างวินัย และวางแผนล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เงินกลายเป็นเรื่องน่าปวดหัว มาดูเทคนิคที่เหมียวแนะนำกันเลยดีกว่า:
1. คำนวณสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (Debt-to-Income Ratio)
ถ้าหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนสูงเกิน 40% ของรายได้ แสดงว่าพี่อาจกำลังอยู่ใน "เขตเสี่ยงทางการเงิน" แล้ว วิธีเช็กง่าย ๆ คือ รวมยอดหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือน แล้วหารด้วยรายได้รวม แล้วคูณด้วย 100 จะได้เปอร์เซ็นต์ออกมา เช่น รายได้ 20,000 บาท หนี้ 8,000 บาท = 40% พอดี
2. จัดงบประมาณรายเดือนให้เป็นระบบด้วยหลักการง่าย ๆ
แนะนำให้ใช้หลัก 50/30/20 คือ
- 50% สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น (ค่ากินอยู่ ค่าเดินทาง)
- 30% สำหรับใช้จ่ายตามใจ (ความสุขเล็ก ๆ ของพี่)
- 20% สำหรับเก็บออมและชำระหนี้
หรือจะใช้แนวทาง "ออมก่อน ใช้ทีหลัง" ก็เวิร์กเหมือนกัน และถ้าอยากจัดหมวดหมู่ได้แม่นยำขึ้น ลองใช้แอป "เหมียวจด" จัดการเงินให้เป็นหมวด ๆ ได้ง่าย ๆ แบบไม่ปวดหัว
3. วางแผนล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน
เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ วันเกิด หรือค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาลหรือซ่อมรถ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน แต่หลายคนลืมวางแผนไว้ล่วงหน้า แนะนำให้กันเงินสำรองส่วนนี้เอาไว้ตั้งแต่ต้นเดือน จะได้ไม่มานั่งเครียดทีหลัง
4. เสริมความรู้ทางการเงินเป็นประจำ
รู้เยอะ ไม่ได้แปลว่าเครียดเยอะ แต่คือมี "ภูมิคุ้มกันทางการเงิน" พี่สามารถเรียนรู้เรื่องการจัดการหนี้, การลงทุนเบื้องต้น, หรือการวางแผนภาษีได้จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น เพจการเงินดี ๆ , พอตแคสต์, หรือคอร์สออนไลน์แบบฟรีและเสียเงินก็มีให้เลือกเพียบ
5. จดรายรับรายจ่ายให้เป็นนิสัย
เรื่องเงินถ้าไม่ "เห็นภาพ" ชัด ๆ มันก็จะหลุดมือง่าย ๆ นี่แหละคือเหตุผลที่พี่ควรเริ่มจดรายรับรายจ่ายตั้งแต่วันนี้ เพราะแค่พี่รู้ว่าเงินเข้ามาและออกไปทางไหนบ้าง ก็จะช่วยลดความเครียดและควบคุมการใช้เงินได้ดีมากขึ้น
สำหรับคนที่ไม่รู้จะเริ่มยังไง หรือจดไม่ครบไม่ต่อเนื่อง ลองโหลดแอป "เหมียวจด" มาลองใช้ดูได้เลย เพราะ
เหมียวจด จะมาช่วยพี่บันทึกรายจ่ายจากสลิปโอนเงินให้พี่ ๆ แบบอัตโนมัติ อีกทั้งยังมีกราฟสรุปให้ดู ไม่ต้องจดเองหรือคำนวณเองให้ยเหนื่อย เรียกได้ว่าเป็น "เพื่อนคู่คิดทางการเงิน" ที่ทำให้การจัดการเงินไม่ใช่เรื่องเครียดอีกต่อไป
- บันทึกรายจ่ายจากสลิปโอนเงินได้อัตโนมัติ แค่เปิดแอปเหมียวก็จดให้เลย
- เพิ่มรายการเองได้ ถ้าใช้เงินสดหรือบัตรเครดิต
- จัดหมวดหมู่ได้ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง หรือของใช้จำเป็น
- ใส่แท็ก# เพื่อติดตามค่าใช้จ่ายยิบย่อย เช่น #กาแฟ #ให้แม่ #ให้แมว
- มีกราฟเทียบรายเดือน ช่วยดูพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองได้แบบชัด ๆ
ความเครียดทางการเงินป้องกันได้ ถ้าพี่มนุษย์ "เข้าใจเงิน" ของตัวเองอย่างลึกซึ้ง และเริ่มวางแผนอย่างมีสติวันนี้ เหมียวขอเป็นกำลังใจให้ทุกก้าวที่พี่เลือกดูแลการเงินของตัวเองนะ
เริ่มใช้เหมียวจดเรื่องราวที่เหมียวแนะนำ

อยากใช้เงินคล่องเหมือนคนอื่น ต้องรู้ 7 วิธีสร้างอิสรภาพทางการเงิน
อิสรภาพทางการเงินสร้างได้ด้วย 7 วิธีนี้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายและมีอิสระไปจนถึงวัยเกษียณ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินและหนี้สิน

เริ่มวางแผนเก็บเงินเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ต้องทำอย่างไรบ้าง?
การวางแผนเก็บเงินให้สำเร็จตามเป้าไม่ใช่เรื่องยาก หากเรารู้ทันนิสัยที่ทำให้เก็บเงินไม่อยู่โดยไม่รู้ตัว เช่น การซื้อของตามใจอยาก หรือมายเซ็ท "เดี๋ยวก็หาใหม่ได้"

DINK คืออะไร? ทำไมหลายคู่เลือกไม่มีลูก แล้วอยู่กันสองคนแบบแฮปปี้!
DINK หรือ Double Income No Kids คือ รูปแบบชีวิตของคู่รักที่มีรายได้สองทางแต่ไม่มีลูก เพราะเหตุผลด้านอิสระ การเงิน และคุณภาพชีวิต