Shopaholic คืออะไร? ส่องสัญญาณเตือนว่าคุณกําลังเป็นหรือไม่

แม้การช้อปปิงจะช่วยให้พี่มนุษย์เติมเต็มความสุขได้มากขึ้นก็จริง แต่ถ้าการจับจ่ายกลายเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ พี่อาจกำลังเป็นภาวะ Shopaholic หรือที่เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เสพติดการช้อปปิง ซึ่งเป็นภาวะทางจิตที่หลายคนเผลอมองข้าม หากไม่รีบสังเกตตัวเองและรักษาภาวะนี้ล่ะก็ ระวังจะทำให้เงินเก็บทั้งหมดหายวับแบบไม่รู้ตัวนะ
แต่จะรู้ได้ยังไงว่า เรากำลังเป็น Shopaholic อยู่มั้ย? บทความนี้เหมียวมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัญญาณเตือนของภาวะ Shopaholic มาฝากให้พี่มนุษย์ได้สังเกตตัวเองกัน
ใครสงสัยกันบ้างว่า Shopaholic คืออะไร?
Shopaholic คือ ภาวะทางจิตรูปแบบหนึ่งที่รู้สึกอยากซื้อของตลอดเวลา และรู้สึกดีที่ได้ใช้เงิน จึงทำให้พี่มนุษย์หมกมุ่นกับการซื้อของซ้ำ ๆ จนเกินควบคุม แม้รู้ว่ากำลังมีปัญหาทางการเงิน หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ของเหล่านั้นก็ตาม
ภาวะนี้มักเกิดจากความเครียด หรือความว่างเปล่าทางอารมณ์ ทำให้สมองสั่งให้หนีความรู้สึกด้านลบด้วยการซื้อของซ้ำ ๆ หลายรอบ ราวกับกำลังติดยาเสพติดเลยก็ว่าได้ คนที่เป็น Shopaholic มักมีพฤติกรรมใช้จ่ายที่ต่างจากคนทั่วไป เช่น ซื้อของโดยไม่วางแผน ซื้อซ้ำ ๆ โดยไม่มีเหตุผล และมักรู้สึกผิดหรือกังวลหลังช้อป แต่ก็ยังหยุดไม่ได้
อาการเหล่านี้อาจดูเล็กน้อยในตอนแรก แต่ถ้าไม่รู้ตัว อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตทั้งด้านการเงิน ความสัมพันธ์ และสุขภาพจิตในระยะยาวได้เลย

คุณเป็น Shopaholic หรือไม่? ลองเช็ก 7 อาการสัญญาณเตือน
ถ้าพี่มนุษย์สงสัยว่า ตัวเองกำลังเป็น Shopaholic นั่นคือ ใช้จ่ายหนักเกินเบรก และยอดบัตรเครดิตเริ่มไหลเร็วเกินคุมล่ะก็ ลองวางมือออกจากกระเป๋าตังค์ แล้วก็ออกจากแอปธนาคารก่อน จากนั้นถามใจตัวเองว่าพฤติกรรมนี้ยังหยุดได้ไหม เช็กลิสต์ด้านล่างจะช่วยให้พี่ประเมินตัวเองชัดขึ้น
มาดูกันว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงเป็น Shopaholic แบบไหนที่ตรงกับการใช้จ่ายของพี่ ๆ ในตอนนี้บ้าง
ช้อปเป็นกิจวัตร
เสพติดการซื้อของเกือบทุกวันหรืออย่างน้อยทุกสัปดาห์ รู้สึกว่าว่างไม่ได้ต้องหาของเข้าตะกร้า
บัตรเครดิตเต็มวงเงิน
ใช้วงเงินเต็มทุกใบ หรือสมัครบัตรใหม่ทั้งที่ยอดเก่ายังค้างชำระ
ซื้อก่อนคิดถึงความจำเป็น
ตัดสินใจซื้อของทันทีเพราะกลัวโปรหมด แม้ยังไม่แน่ใจว่าจะได้ใช้จริงหรือไม่
ใช้การช้อปปิงเป็นเครื่องระบายความเครียด
เลือกเดินห้างหรือเลื่อนแอปสั่งของเพื่อคลายอารมณ์ลบ และรู้สึกอิ่มเอมใจทันทีหลังซื้อ
เสียใจภายหลังแต่ยังทำซ้ำ
เกิดความรู้สึกผิดหรือเสียดายเงินหลังได้รับใบเสร็จ แต่ก็กลับมาช้อปปิงอีกในเวลาไม่นาน
ยับยั้งตัวเองไม่สำเร็จ
ตั้งใจจะหยุดซื้อหลายครั้งแต่แพ้ต่อป้ายลดราคาสีแดง ดีลลดราคา โค้ดส่วนลด หรือ Flash Sale ทุกที
ปิดบังพฤติกรรมทางการเงิน
โกหกเรื่องค่าใช้จ่าย ยืมเงินคนอื่น รวมถึงหยิบเงินโดยพลการเพื่อให้ได้ซื้อของต่อ
หากเช็กแล้วมีอาการมากกว่าครึ่ง พี่มนุษย์มีแนวโน้มที่จะป่วยเป็น Shopaholic ได้สูง ซึ่งหากไม่รีบแก้ไข หรือคนรอบข้างไม่ทันได้ช่วยสังเกตพฤติกรรมการซื้อของพี่ ๆ เองล่ะก็ อาจส่งผลกระทบการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าพี่ ๆ มีภาวะทางจิตนี้แล้วจะแก้ไม่ได้นะ

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเป็น Shopaholic
เมื่อมองเห็นสัญญาณการเป็น Shopaholic ชัดเจนว่า พฤติกรรมการซื้อเริ่มเกินควบคุม ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้ปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้นทันที แต่จะค่อย ๆ แทรกซึมทุกมิติของชีวิตจนพี่ ๆ สังเกตได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
การเงินสะดุด
การใช้เงินเกินกำลังทำให้หนี้บัตรเครดิตพอกพูน ดอกเบี้ยสูงขึ้นเรื่อย และเงินออมฉุกเฉินหายไปจนต้องกู้เงินหมุน
ความสัมพันธ์สั่นคลอน
การดึงเงินกองกลางหรือปิดบังค่าใช้จ่ายสร้างความไม่ไว้ใจในครอบครัว นำไปสู่ความขัดแย้งหรือถึงขั้นหย่าร้าง
สุขภาพจิตถดถอย
ความสุขระยะสั้นระหว่างซื้อของแปรเปลี่ยนเป็นความกังวล ความรู้สึกผิด และภาวะซึมเศร้าเมื่อเห็นยอดบิล
สมาธิในการทำงานหาย
การติดตามโปรโมชันระหว่างเวลางานลดสมาธิ และความเครียดจากหนี้ส่งผลให้ประสิทธิภาพถดถอย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พี่มนุษย์อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะ Shopaholic คือภาวะทางจิตที่สามารถแก้ไขได้ โดยต้องแก้นิสัยพร้อมกับจัดการพฤติกรรมเสพติดการใช้จ่ายให้อยู่หมัด ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

วิธีจัดการกับพฤติกรรม Shopaholic
ควบคุมการใช้จ่ายไม่ใช่การตัดทอนความสุข แต่การจัดการกับภาวะ Shopaholic คือ การดึงอำนาจตัดสินใจกับเงินกลับคืนมา หากพี่มนุษย์พร้อมจะเปลี่ยนแปลง ลองเริ่มทีละขั้นอย่างตั้งใจและสม่ำเสมอพร้อมกันกับเหมียว ก็จะช่วยให้กระเป๋าสตางค์กลับมาอยู่ในกำมือได้ไม่ยาก โดยไม่รู้สึกฝืนจนเกินไป โดยมีวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำตามเหมียวได้จริง ก็คือ
1. กำหนดงบช้อปปิงรายเดือน
ตั้งเพดานค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (เช่น 2,000 บาท/เดือน) และหยุดทันทีเมื่อถึงเพดาน ช่วยเบรกการซื้อตามอารมณ์และควบคุมยอดบัตรให้นิ่ง
2. การหยุดพฤติกรรม Shopaholic คือ ใช้กฎ 24 ชั่วโมง
ใส่ของในรถเข็นแล้วรอหนึ่งวัน ให้ความรู้สึกฮึกเหิมจางลงก่อนค่อยซื้อ ลดการตัดสินใจจากแรงกระตุ้นชั่ววูบ
3. ลดปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะ Shopaholic
เลิกติดตามเพจโปรโมชัน ปิดแจ้งเตือนดีล และนำบัตรเครดิตออกจากแอป ลดสิ่งยั่วยุ ความอยากซื้อจะซาลงเอง
4. สร้างกิจกรรมทดแทนการช้อปปิง
หากิจกรรมให้โดพามีนแบบไม่ใช้เงิน เช่น วิ่ง ปลูกต้นไม้ หรือดูซีรีส์ที่บ้าน มือไม่ว่างรูดบัตร สุขภาพใจก็ดีขึ้น
5. ขอคำปรึกษามืออาชีพ
ถ้าหนี้พุ่งหรือตบะแตกซ้ำ ๆ ปรึกษานักจิตวิทยาหรือที่ปรึกษาการเงิน เพื่อได้แผนชำระหนี้และเทคนิคปรับพฤติกรรมเฉพาะตัว
6. กำหนดรางวัลที่ไม่ฟุ่มเฟือย
ให้รางวัลเล็ก ๆ เช่น ทำเมนูโปรดหรือชมภาพยนตร์ที่บ้านสัปดาห์ละครั้ง ป้องกันการอดแล้วตบะแตก และรักษาวินัยระยะยาว
7. บันทึกรายรับ–รายจ่ายครบถ้วน
ลองจดทุกยอดรับ‑จ่าย ตั้งแต่กาแฟแก้วเล็กถึงงวดมือถือ ตัวเลขจริงจะบอกทันทีว่าค่าไหนลดได้ ค่าไหนต้องคง และทำให้มือชะงักก่อนรูดบัตร เพราะรู้ผลลัพธ์ที่จะตามมา
หากการจดลงกระดาษทำให้หลุดตารางบ่อย ลองย้ายภาระนี้ให้ "เหมียวจด" ช่วยแทน แอปจะบันทึกรายการอัตโนมัติ ตั้งงบเดือน และส่งสัญญาณเตือนเมื่อยอดใช้จ่ายใกล้ทะลุกรอบ พร้อมสรุปสถิติให้ทบทวนตอนสิ้นเดือนว่าพฤติกรรมไหนเวิร์กพอจะรักษาไว้ และจุดไหนต้องปรับต่อไป
สรุป
จะเห็นได้ว่า Shopaholic คือ ภาวะทางจิตเวชรูปแบบหนึ่งที่ทำให้รู้สึกอยากใช้เงินซื้อของตลอดเวลาเพื่อเติมเต็มตัวเองให้มีความสุข หากไม่รีบสังเกตตัวเองและไม่จัดการพฤติกรรมเสพติดการใช้จ่ายนี้ อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อยเลย ทั้งด้านการเงิน ความสัมพันธ์ สุขภาพ และการทำงานนั่นเอง
สำหรับพี่มนุษย์คนไหนที่ต้องการตัวช่วยจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายเพื่อแก้พฤติกรรม Shopaholic อย่างตรงจุดมากขึ้นล่ะก็ เหมียวขอแนะนำแอป "เหมียวจด" ที่สามารถสแกนสลิปโอนเงิน บันทึกรายรับ-รายจ่ายอัตโนมัติ ช่วยให้พี่มนุษย์ เห็นพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองอย่างชัดเจนและแก้ปัญหาการเงินได้ง่ายขึ้น
- แค่เปิดแอปก็บันทึกรายการให้เลย ไม่ว่าจ่ายจากบัญชีธนาคารไหนก็จดได้
- สรุปค่าใช้จ่ายให้เห็นภาพรวม เช็กได้ว่าเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไร
- จัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายได้ เช่น ค่าเครื่องสำอาง ค่าอาหารหรู ค่าของใช้ฟุ่มเฟือย หรืออื่น ๆ
- สร้างแท็ก# เพื่อคุมงบตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ อย่าง #เครื่องสำอาง ไปจนเรื่องใหญ่อย่าง #ค่าเที่ยว
- จ่ายเงินสดหรือบัตรเครดิต ก็จดเพิ่มเองได้ง่าย ๆ
- มีกราฟสรุปค่าใช้จ่าย เทียบข้ามเดือนได้ เห็นแนวโน้มการใช้เงินแบบชัด ๆ
แค่มีแอปเหมียวจดติดเครื่องไว้ ก็ช่วยให้พี่ ๆ ติดตามวางแผนการเงินและจัดการพฤติกรรม Shopaholic ได้ง่ายขึ้น
เริ่มใช้เหมียวจดเรื่องราวที่เหมียวแนะนำ

จาก 0 สู่ความสบาย: สูตรออมเงินแบบเรียล ๆ สู่ความมั่นคงทางการเงิน
เริ่มต้นจาก 0 ก็สร้างความมั่นคงทางการเงินได้ ด้วยสูตรออมเงินง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ พร้อมเคล็ดลับการออมเพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน

อยากใช้เงินคล่องเหมือนคนอื่น ต้องรู้ 7 วิธีสร้างอิสรภาพทางการเงิน
อิสรภาพทางการเงินสร้างได้ด้วย 7 วิธีนี้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายและมีอิสระไปจนถึงวัยเกษียณ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินและหนี้สิน

สังคมไร้เงินสด อยู่ง่าย หรือ เพิ่มความเสี่ยง?
สังคมไร้เงินสดช่วยให้ทำธุรกรรมสะดวกขึ้น แต่ก็แฝงความเสี่ยงทางการเงินที่ไม่ควรมองข้าม