จัดการรายจ่ายได้หายห่วงด้วยกลยุทธ์ง่าย ๆ แม้เงินช็อต

เหมียวเชื่อว่า พี่มนุษย์หลายคนอยากมีเงินใช้จ่ายสิ่งที่อยากได้เยอะ ๆ แต่กลับต้องเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงลิ่วทั้งที่เงินเดือนยังคงเท่าเดิม อาจทำให้พี่ ๆ "เงินช็อต" มีเงินไม่พอใช้จ่ายช่วงสิ้นเดือน อาจฟังดูเหมือนฝันร้ายนะพี่ ๆ แต่ถ้าลองมองอีกมุมแล้วเนี่ย เป็นสัญญาณเตือนให้พี่ ๆ รีบแก้ไขนิสัยการใช้จ่าย และวางแผนทางการเงินใหม่ให้ดีขึ้นต่างหากล่ะ!
ถ้าอยากรู้ว่าเงินช็อตต้องแก้ไขอย่างไร บทความนี้เหมียวมีกลยุทธ์จัดการปัญหาช็อตเงินง่าย ๆ มาแชร์ให้พี่ ๆ ที่กำลังช็อตเงินทุกคนกัน เพื่อเป็นแนวทางให้พี่ ๆ ได้จัดการเงินช็อตได้แบบอยู่หมัด!
เช็กลิสต์...คุณเสี่ยงเงินช็อตแล้วหรือยัง?
"เงินช็อต" เป็นปัญหาทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากรายได้ของพี่ ๆ ไม่พอใช้จ่ายในช่วงเวลาหนึ่งชั่วคราว เนื่องจากมีเหตุให้ต้องใช้เงินก้อนใหญ่กะทันหัน หรือใช้เงินเกินตัวมากเกินไป นำไปสู่การเกิดสัญญาณผิดปกติทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ หากใครกำลังมีปัญหาการเงินอยู่ล่ะก็ มาลองทำเช็กลิสต์สัญญาณเสี่ยงไปพร้อมกับเหมียวกันดีกว่าว่า เข้าข่ายเงินช็อตแล้วหรือยัง
สัญญาณเสี่ยงที่ 1 : เงินหมดก่อนสิ้นเดือน
เมื่อใช้จ่ายเกินตัวเกินไป หรือมีเหตุต้องใช้เงินก้อนใหญ่ฉุกเฉิน ทำให้สภาพคล่องสะดุด ส่งผลให้เงินหมดก่อนสิ้นเดือน และนำไปสู่การหาวิธีต่าง ๆ เพื่อให้อยู่รอดถึงสิ้นเดือน
สัญญาณเสี่ยงที่ 2 : ไม่มีเงินออม ไม่เหลือเงินสำรองฉุกเฉิน
ค่าใช้จ่ายก้อนโตทำให้จำเป็นต้องดึงเงินออมหรือเงินฉุกเฉินมาใช้ ทำให้เงินสำหรับใช้จ่ายไม่เหลือ ก็ต้องเอาเงินส่วนที่เหลือมาใช้ต่ออีก ส่งผลให้ไม่มีเงินเหลือให้เก็บเลยแม้แต่บาทเดียว
สัญญาณเสี่ยงที่ 3 : ต้องรูดบัตรเครดิตเพื่อให้รอดถึงสิ้นเดือน
เมื่อเงินใช้จ่าย เงินออม เงินสำรองฉุกเฉินไม่มี จึงจำเป็นต้องรูดบัตรเครดิตเพื่อความอยู่รอด ซึ่งกว่าจะถึงสิ้นเดือนก็หลายวัน แถมค่าใช้จ่ายต่อวันก็เยอะ อาจเกิดหนี้ก้อนโตและกลายเป็นวงจรที่วนลูปได้

สัญญาณเสี่ยงที่ 4 : ยืมเงินเพื่อนบ่อยขึ้น
เมื่อไม่มีเงินเหลือติดตัวเลย แต่ไม่กล้ากู้เงินนอกระบบมาใช้ จึงต้องยืมเงินเพื่อนบ่อยขึ้น เพื่อนำมาใช้จ่ายให้รอดถึงสิ้นเดือน แต่ถ้ายืมเพื่อนบ่อย ๆ อาจทำให้เพื่อนไม่ไว้ใจพี่อีกต่อไปได้นะ
สัญญาณเสี่ยงที่ 5 : เริ่มจ่ายค่าใช้จ่ายประจำไม่ตรงเวลา
เมื่อก่อนเคยจ่ายค่าบัตรเครดิต ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ หรือบิลต่าง ๆ ตรงเวลาทุกรอบ แต่ในวันนี้ที่เงินช็อต ไม่เหลือเงินเก็บเลยนั้น ทำให้ต้องผัดวันชำระไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเงินเดือนออก แถมยังโดนดอกเบี้ยเพราะจ่ายล่าช้าอีกด้วยนะ
สัญญาณเสี่ยงที่ 6 : กังวลเรื่องเงินตลอดเวลา
แค่ได้ยินคำว่า "สิ้นเดือน" ใจก็เริ่มเครียดแล้วว่า เดือนต่อไปจะเหลือเงินใช้ไหม จะมีเงินพอหรือเปล่า จะทำยังไงก็หนี้ที่เป็นอยู่ตอนนี้ดี
ทั้งหมดนี้เป็น 6 สัญญาณเสี่ยงเงินช็อตที่มักจะเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานอยู่บ่อย ๆ เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องรับมือเยอะมาก ทำให้เกิดคนกลุ่มนี้ รวมถึงพี่ ๆ ด้วยเนี่ย ต้องตกอยู่ในสถานการณ์เงินช็อตอยู่บ่อย ๆ
ยกตัวอย่างเช่น: พี่มนุษย์เดินไถโทรศัพธ์อยู่ดี ๆ ก็เกิดอุบัติเหตุเผลอทำเครื่องตกพื้นอย่างแรงจนหน้าจอแตกจนใช้งานลำบาก พอเอาซ่อมที่ศูนย์ก็ต้องเสียค่าซ่อมเกือบหมี่นห้า ทำให้พี่ต้องเอาเงินสำรองไปจ่ายจนมีเงินไม่พอใช้จนถึงสิ้นเดือน หรือกลายเป็นว่า เดือนนี้ช็อตเงินไปเลย
สาเหตุที่ทำให้เจอเงินช็อต
ปัญหาเงินช็อตดูเป็นเรื่องที่พี่ ๆ หลายคนจัดการได้ยาก เพราะถึงแม้มีรายได้อยู่ตลอดแต่เงินก็มักจะหมดก่อนถึงสิ้นเดือนทุกที โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้พี่ ๆ ช็อตเงินนั้นมักเกิดจาก
- ไม่วางแผนทางการเงิน หรือวางแผนอย่างไม่รอบคอบ
- ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ประเมินความสามารถในการใช้จ่ายของตัวเอง แถมยังใช้จ่ายกับสิ่งที่ไม่จำเป็น
- ก่อหนี้เพิ่มจากการใช้บัตรเครดิตหรือการใช้สินเชื่อเงินสดโดยไม่ได้วางแผนการชำระหนี้ล่วงหน้า
- รายจ่ายสวนทางกับรายได้ เพราะค่าครองชีพที่สูง ทำให้รายได้ไม่ครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายทั่งหมด
เพราะสาเหตุเหล่านี้แหละ ทำให้พี่ ๆ เงินช็อต ผลที่เกิดขึ้นคือ พี่จะไม่สามารถแบ่งเงินสำหรับใช้จ่ายออกจากเงินสำหรับออมได้ เพราะพี่มีเงินใช้จ่ายไม่พอ สัญญาณแรกที่เกิดขึ้นนั้น พี่จะเริ่มดึงเงินเก็บมาใช้จ่ายเรื่อย ๆ จนหมด เมื่อพี่ไม่มีเงินเก็บแล้วจึงนำไปสู่การยืมเงินเพื่อน ครอบครัว หรือพี่คนไหนที่ช็อตเงินหนักมากอาจไปกู้ยืมเงินจากธนาคารมาใช้ และที่แย่มากกว่าคือการกู้เงินนอกระบบที่คิดดอกเบี้ยสูงมาก ๆ ท้ายที่สุดแล้ว พี่จะมีภาระหนี้สินเกินตัวในที่สุด

เคลียร์ปัญหาเงินช็อตด้วย 4 วิธี
แต่ยังไงก็ตาม ปัญหาเงินช็อตไม่ได้หมายความว่าจะแก้ไม่ได้นะ ถ้าพี่รู้ตัวว่าเดือนนี้ช็อตและจับทิศทางการเงินตัวเองได้ทัน จากนั้นค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมแบบไม่ต้องฝืนตัวเองจนเกินไป เหมียวขอแนะนำให้พี่นำ 4 วิธีเคลียร์ปัญหาเงินช็อตไปปรับใช้ตามด้านล่างนี้ เพื่อให้สภาพคล่องทางเงินของพี่ ๆ กลับมาดีขึ้นได้อีกครั้ง
1. เงินช็อตลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
ลองย้อนดู 7 วันที่ผ่านมาว่า มีค่าอะไรที่สามารถตัดออกได้บ้าง เช่น ค่ากาแฟแพง ๆ ของกินตามใจฉัน หรือบริการรายเดือนที่ไม่ได้ใช้ ค่าใช้จ่ายแบบนี้ถ้าเราสามารถลดลงได้บ้างก็จะช่วยให้พี่มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น
2. จัดสรรงบใหม่ให้ดีขึ้น
เริ่มจากการจดรายรับ–รายจ่าย เพื่อดูพฤติกรรมใช้เงินของตัวเอง จากนั้นค่อยวางแผนงบรายเดือนใหม่ให้เหมาะกับการใช้จ่ายจริง และมีเงินออมทุกเดือน
3. หารายได้เสริมแบบง่าย ๆ แก้ปัญหาเงินช็อต
พี่ ๆ อาจลองขายของมือสอง รับงานพาร์ทไทม์ หรือหารายได้เสริมในเวลาว่าง เพิ่มรายได้ให้ตัวเอง เพื่อลดปัญหาเงินช็อตและสร้างสภาพคล่องทางการเงิน
4. ใช้บริการทางการเงินอย่างระมัดระวัง
หากจำเป็นต้องกู้จริง ๆ เหมียวแนะนำให้เลือกใช้สินเชื่อที่ถูกกฎหมาย เช่น บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคล และต้องมีแผนชำระหนี้ที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้ปัญหาหนี้ยิ่งบานปลาย

ไม่อยากเงินช็อตอีกในอนาคต ควรทํายังไง
เมื่อพี่มนุษย์สามารถฝ่าช่วงวิกฤตเงินช็อตมาได้อย่างสวยงาม กลับมามีสภาพคล่องในชีวิต มีเงินใช้ไม่ต้องพะวงทุกวัน แถมมีเงินออมไว้เป็นทุนสำรองยามฉุกเฉินแล้ว เชื่อว่าในใจพี่ต้องมีคำถามผุดขึ้นมาว่า "จะทำยังไงให้ไม่ต้องกลับไปเจอเหตุการณ์แบบนั้นอีก?"
เหมียวบอกเลยว่า การป้องกันไม่ให้เงินช็อต "วนลูป" กลับมาอีก เป็นเรื่องที่ทำได้จริง ถ้าเริ่มจากวิธีง่าย ๆ เหล่านี้
1. การจัดลำดับความสำคัญของรายจ่าย
ลองไล่เรียงดูว่าอะไรคือสิ่ง "จำเป็น" และอะไรคือ "แค่อยากได้" ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงเพราะอยากได้ให้ตัดออกไปเท่าที่ไหว ก็จะช่วยให้ป้องกันเงินช็อตได้ดีเลยล่ะ
2. จัดทำงบประมาณรายเดือน
การมีแผนการเงินชัดเจนจะช่วยให้พี่ควบคุมรายรับ–รายจ่ายได้อย่างเป็นระบบ สูตรพื้นฐานที่เหมียวแนะนำคือ 50-30-20 โดยแบ่ง 50% ของรายได้เพื่อค่าใช้จ่ายจำเป็น, 30% เพื่อไลฟ์สไตล์, 20% เพื่อเก็บออมหรือลงทุน
3. ใช้เงินสดแทนการรูดบัตรเครดิต
การหันมาใช้เงินสดหรือเดบิตที่ตัดจากบัญชีโดยตรง จะช่วยให้ควบคุมการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกัน การรูดบัตรมักทำให้พี่ใช้เงินเกินตัวแบบไม่รู้ตัว
4. หารายได้เสริม ลดปัญหาเงินช็อต
หากรายได้หลักยังไม่พอใช้ ลองมองหาโอกาสเสริม เช่น ขายของออนไลน์ รับจ็อบฟรีแลนซ์ หรือถนัดทำอาหารก็เปิดพรีออเดอร์เล็ก ๆ พี่จะมีรายได้เพิ่ม และไม่ต้องดึงเงินเก็บมาใช้แบบทุกข์ใจเหมือนก่อน
5. บันทึกรายรับรายจ่ายอยู่เสมอ
การจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายช่วยให้พี่มนุษย์รู้ทันพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเอง ไม่หลงลืมว่าเงินหายไปกับอะไร และยังช่วยวางแผนปรับปรุงได้ตรงจุด
แต่ถ้าต้องการตัวช่วยเพิ่มความสะดวกล่ะก็ เหมียวขอแนะนำ "แอปเหมียวจด" แอปช่วยจดบันทึกรายจ่ายอัตโนมัติจากสลิปธนาคารที่อยู่ในอัลบัม ตัวช่วยที่จะทำให้การบันทึกรายรับ–รายจ่ายเป็นเรื่องง่าย ช่วยให้พี่เห็นพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองได้ง่ายขึ้น จนรู้เลยว่าควรปรับตรงไหนเพื่อป้องกันเงินช็อตในอนาคตได้จริง
- สรุปค่าใช้จ่ายให้เห็นภาพรวม เช็กได้ว่าเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรมากที่สุด
- จ่ายเงินสดหรือบัตรเครดิต ก็จดเพิ่มเองได้ง่าย ๆ
- จัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายได้ เช่น ค่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าเดินทางหรืออื่น ๆ
- สร้างแท็ก # ติดตามการจ่าย #ค่าเช่า #ค่าโทรศัพท์ #ค่ากาแฟ หรือ #กินข้าวนอกบ้าน ช่วยคุมงบเฉพาะเรื่องได้ไม่ว่าจะเรื่องเล็กเรื่องใหญ่
- มีกราฟสรุปข้ามเดือน เปรียบเทียบวิธีการใช้จ่าย รู้นิสัยการเงินของตัวเองมากขึ้น
แค่มีแอปเหมียวจดติดเครื่องไว้ ก็ช่วยให้พี่ ๆ ติดตามค่าใช้จ่ายและเป็นแนวทางช่วยแก้ปัญหาเงินช็อตได้อย่างดี
เริ่มใช้เหมียวจดเรื่องราวที่เหมียวแนะนำ

เหมียวจด แอปติดเครื่องที่ขาดไม่ได้ ใครใช้ก็บอกว่าคุ้ม
เริ่มต้นจัดการรายรับรายจ่ายง่าย ๆ ด้วยเหมียวจด แอปติดเครื่องที่ใช้ง่าย ฟรี ไม่มีโฆษณา เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ของพี่มนุษย์

ใช้เงินเป็นแบบทฤษฎีสามเหลี่ยม (พีระมิดการเงิน) เก็ทใน 3 นาที ไม่ต้องท่องจำ
รู้จักพีระมิดการเงินแบบเข้าใจง่าย ไม่ต้องท่องจำ วางแผนการเงินแบบมีระบบ เริ่มต้นได้ทันทีด้วยตัวเอง พร้อมตัวอย่างจริง

เป็นหนี้แล้วจัดการยังไง เริ่มจัดการหนี้ยังไงให้ชีวิตไปต่อได้?
เป็นหนี้แล้วจัดการยังไง มีแต่หนี้ต้องเริ่มจัดการที่จุดไหนก่อน จัดการหนี้อย่างไรให้ตัวเองยังไปต่อได้ ไม่บีบรัดตัวเองจนเกินไป แถมมีเงินเหลือไว้ใช้ มาดูกัน